การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบว่าบรรพบุรุษของไทยเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน และในช่วงเวลาที่อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรอยุธยาก็สถาปนาขึ้น และดำรงอยู่เป็นราชธานีตลอดระยะเวลา 417 ปี จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียอิสรภาพให้แก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้กอบกู้เอกราชของไทยคืนมา และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ อาณาจักรธนบุรีดำรงอยู่มาได้ 15 ปี ก็สิ้นสุดแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2325 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระราชวงศ์จักรีขึ้นปกครองแผ่นดินและตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีแห่งใหม่ของไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้
อาณาจักรอยุธยาสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 และดำรงความเป็นอาณาจักรไว้ได้นานถึง 417 ปี ย่อมต้องมีรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่เข้มแข็งพอสมควร ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยาจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยเป็นอย่างยิ่ง
1. ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะเสด็จมาสร้างกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พศ. 1893 ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพระองค์มีเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เมืองใด แต่มีข้อสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากทางเหนือ ตอนบนของแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะอพยพมาสร้างกรุงศรีอยุธยา
ส่วนความคิดเห็นหนึ่งก็ว่า พระเจ้าอู่ทองอยู่ที่เมืองอโยธยา และทรงอพยพไพร่พลหนีโรคระบาดข้ามฝั่งแม่น้ำมาสร้างกรุงศรีอยุธยา
นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปว่า พระเจ้าอู่ทองซึ่งเป็นฝ่ายละโว้ได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งสุพรรณภูมิ เพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่จะสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักร
ต่อมาเมื่อเมืองอู่ทองเกิดโรคระบาด เกิดภัยธรรมชาติ ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ (เชื่อกันว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทไธสวรรย์ในปัจจุบัน) ทรงสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณหนองโสนหรือบึงพระราม แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในปี พ.ศ. 1893 ทรงพระราชทานนามพระนครว่า "กรุงเทพทวารวดี ศรีอยุธยา" พระเจ้าอู่ทองเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์อู่ทอง ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1"
ส่วนความคิดเห็นหนึ่งก็ว่า พระเจ้าอู่ทองอยู่ที่เมืองอโยธยา และทรงอพยพไพร่พลหนีโรคระบาดข้ามฝั่งแม่น้ำมาสร้างกรุงศรีอยุธยา
นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปว่า พระเจ้าอู่ทองซึ่งเป็นฝ่ายละโว้ได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งสุพรรณภูมิ เพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่จะสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักร
ต่อมาเมื่อเมืองอู่ทองเกิดโรคระบาด เกิดภัยธรรมชาติ ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ (เชื่อกันว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทไธสวรรย์ในปัจจุบัน) ทรงสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณหนองโสนหรือบึงพระราม แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในปี พ.ศ. 1893 ทรงพระราชทานนามพระนครว่า "กรุงเทพทวารวดี ศรีอยุธยา" พระเจ้าอู่ทองเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์อู่ทอง ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1"
2. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยามีที่ตั้งที่เหมาะสม เนื่องจากมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านถึง 3 สาย ได้แก่
แม่น้ำลพบุรี ไหลจากทางทิศเหนืออ้อมไปทางทิศตะวันตก
แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านจากทิศตะวันออก
แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลจากทิศตะวันตกอ้อมไปทางทิศใต้
แม่น้ำทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันล้อมรอบราชธานี ทำให้กรุงศรีอยุธยามีลักษณะเป็นเกาะที่มีสัณฐานคล้ายเรือสำเภา คนทั่วไปจึงเรียกอยุธยาว่า "เกาะเมือง" อยุธยามีทำเลทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเป็นราชธานี ดังนี้
1. เป็นที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก
2. สะดวกแก่การคมนาคม เพราะตั้งอยู่ในเส้นทางค้าขาย ติดต่อกับหัวเมืองอื่น ๆ รวมทั้งสามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทางทะเลได้สะดวก เพราะตั้งอยู่ตรงที่แม่น้ำใหญ่หลายสายไหลมาบรรจบกัน รวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลออกอ่าวไทย เรือเดินทะเลสามารถแล่นจากปากแม่น้ำเข้ามาทอดสมอได้ถึงหน้าเมือง ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นชุมทางการค้าขายที่สำคัญ
3. มีความเหมาะสมด้านยุทธศาสตร์ กล่าวคือ เมื่อมีข้าศึกยกทัพมาตี ข้าศึกจะสามารถตั้งค่ายล้อมเมืองได้ถึงฤดูแล้งเท่านั้น เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะหลากท่วมขังบริเวณรอบตัวเมือง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการที่ข้าศึกจะยกทัพเข้าโจมตีและทำให้ขาดแคลนเสบียงอาหาร ข้าศึกจึงต้องถอยทัพกลับไป
สภาพทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาที่มีความเหมาะสมดังกล่าว ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นนครราชธานีอันยิ่งใหญ่ของชาติไทยมายาวนานตลอด 417 ปี (พ.ศ. 1893 - 2310) และมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อย่างเห็นได้ชัดทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม
แม่น้ำลพบุรี ไหลจากทางทิศเหนืออ้อมไปทางทิศตะวันตก
แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านจากทิศตะวันออก
แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลจากทิศตะวันตกอ้อมไปทางทิศใต้
แม่น้ำทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันล้อมรอบราชธานี ทำให้กรุงศรีอยุธยามีลักษณะเป็นเกาะที่มีสัณฐานคล้ายเรือสำเภา คนทั่วไปจึงเรียกอยุธยาว่า "เกาะเมือง" อยุธยามีทำเลทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเป็นราชธานี ดังนี้
1. เป็นที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก
2. สะดวกแก่การคมนาคม เพราะตั้งอยู่ในเส้นทางค้าขาย ติดต่อกับหัวเมืองอื่น ๆ รวมทั้งสามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทางทะเลได้สะดวก เพราะตั้งอยู่ตรงที่แม่น้ำใหญ่หลายสายไหลมาบรรจบกัน รวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลออกอ่าวไทย เรือเดินทะเลสามารถแล่นจากปากแม่น้ำเข้ามาทอดสมอได้ถึงหน้าเมือง ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นชุมทางการค้าขายที่สำคัญ
3. มีความเหมาะสมด้านยุทธศาสตร์ กล่าวคือ เมื่อมีข้าศึกยกทัพมาตี ข้าศึกจะสามารถตั้งค่ายล้อมเมืองได้ถึงฤดูแล้งเท่านั้น เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะหลากท่วมขังบริเวณรอบตัวเมือง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการที่ข้าศึกจะยกทัพเข้าโจมตีและทำให้ขาดแคลนเสบียงอาหาร ข้าศึกจึงต้องถอยทัพกลับไป
สภาพทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาที่มีความเหมาะสมดังกล่าว ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นนครราชธานีอันยิ่งใหญ่ของชาติไทยมายาวนานตลอด 417 ปี (พ.ศ. 1893 - 2310) และมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อย่างเห็นได้ชัดทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม
3. รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ตลอดระยะเวลา 417 ปี ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย ได้มีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมา 5 ราชวงศ์ รวมทั้งสิ้น 33 พระองค์
1. พระราชวงศ์อู่ทอง
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ พ.ศ. 1893 - 1912
- สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ พ.ศ. 1912 - 1913 และ พ.ศ. 1931 - 1938
- สมเด็จพระรามราชาธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 1938 - 1952
2. สุพรรณภูมิ
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว) ครองราชย์ พ.ศ. 1913 - 1931
- สมเด็จพระเจ้าทองลัน (ทองจันทร์) ครองราชย์ พ.ศ. 1931 - 1931
- สมเด็จพระอินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) ครองราชย์ พ.ศ. 1952 - 1967
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ครองราชย์ พ.ศ. 1967 - 1991
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์ พ.ศ. 1991 - 2031
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ครองราชย์ พ.ศ. 2031 - 2034
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์ พ.ศ. 2034 - 2072
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูรหรือพระอาทิตยวงศ์) ครองราชย์ พ.ศ. 2072 - 2076
- สมเด็จาพระรัษฎาธิราชราชกุมาร ครองราชย์ พ.ศ. 2076 - 2077
- สมเด็จพระไขยราชาธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 2077 - 2089
- สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) ครองราชย์ พ.ศ. 2089 - 2091
- สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ครองราชย์ พ.ศ. 2091 - 2111
- สมเด็จพระมหินทราธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 2111 - 2112
3. สุโขทัย
- สมเด็จพระมหาธรรมราชา ครองราชย์ พ.ศ. 2112 - 2133
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครองราชย์ พ.ศ. 2133 - 2148
- สมเด็จพระเอกาทศรถ ครองราชย์ พ.ศ. 2148 - 2163
- สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ครองราชย์ พ.ศ. 2163 - 2163
- สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ครองราชย์ พ.ศ. 2163 - 2173
- สมเด็จพระเชษฐาธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 2171 - 2173
- สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ ครองราชย์ พ.ศ. 2173 - 2173
4. ปราสาททอง
- สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์ พ.ศ. 2173 - 2198
- สมเด็จเจ้าฟ้าไชย ครองราชย์ พ.ศ. 2198 - 2199
- สมเด็จพระสุธรรมราชา ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - 2199
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - 2231
5. บ้านพลูหลวง
- สมเด็จพระเพทราชา ครองราชย์ พ.ศ. 2231 - 2245
- สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) ครองราชย์ พ.ศ. 2245 - 2252
- สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) ครองราชย์ พ.ศ. 2252 - 2275
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ พ.ศ. 2275 - 2301
- สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) ครองราชย์ พ.ศ. 2301 - 2301
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ครองราชย์ พ.ศ. 2301 - 2310
1. พระราชวงศ์อู่ทอง
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ พ.ศ. 1893 - 1912
- สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ พ.ศ. 1912 - 1913 และ พ.ศ. 1931 - 1938
- สมเด็จพระรามราชาธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 1938 - 1952
2. สุพรรณภูมิ
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว) ครองราชย์ พ.ศ. 1913 - 1931
- สมเด็จพระเจ้าทองลัน (ทองจันทร์) ครองราชย์ พ.ศ. 1931 - 1931
- สมเด็จพระอินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) ครองราชย์ พ.ศ. 1952 - 1967
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ครองราชย์ พ.ศ. 1967 - 1991
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์ พ.ศ. 1991 - 2031
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ครองราชย์ พ.ศ. 2031 - 2034
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์ พ.ศ. 2034 - 2072
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูรหรือพระอาทิตยวงศ์) ครองราชย์ พ.ศ. 2072 - 2076
- สมเด็จาพระรัษฎาธิราชราชกุมาร ครองราชย์ พ.ศ. 2076 - 2077
- สมเด็จพระไขยราชาธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 2077 - 2089
- สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) ครองราชย์ พ.ศ. 2089 - 2091
- สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ครองราชย์ พ.ศ. 2091 - 2111
- สมเด็จพระมหินทราธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 2111 - 2112
3. สุโขทัย
- สมเด็จพระมหาธรรมราชา ครองราชย์ พ.ศ. 2112 - 2133
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครองราชย์ พ.ศ. 2133 - 2148
- สมเด็จพระเอกาทศรถ ครองราชย์ พ.ศ. 2148 - 2163
- สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ครองราชย์ พ.ศ. 2163 - 2163
- สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ครองราชย์ พ.ศ. 2163 - 2173
- สมเด็จพระเชษฐาธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 2171 - 2173
- สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ ครองราชย์ พ.ศ. 2173 - 2173
4. ปราสาททอง
- สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์ พ.ศ. 2173 - 2198
- สมเด็จเจ้าฟ้าไชย ครองราชย์ พ.ศ. 2198 - 2199
- สมเด็จพระสุธรรมราชา ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - 2199
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - 2231
5. บ้านพลูหลวง
- สมเด็จพระเพทราชา ครองราชย์ พ.ศ. 2231 - 2245
- สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) ครองราชย์ พ.ศ. 2245 - 2252
- สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) ครองราชย์ พ.ศ. 2252 - 2275
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ พ.ศ. 2275 - 2301
- สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) ครองราชย์ พ.ศ. 2301 - 2301
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ครองราชย์ พ.ศ. 2301 - 2310
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ . ประวัติศาสตร์ ป.5 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ . ประวัติศาสตร์ ป.5 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น