กฎหมายเกี่ยวกับผู้เยาว์
ผู้เยาว์ คือ บุคคลที่อ่อนอายุ อ่อนประสบการณ์ และขาดการควบคุมสภาพจิตใจ จึงถือว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถ เพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่อาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของตน ดังนั้น กฎหมายจึงให้ความคุ้มครองช่วยเหลือจนกว่าบุคคลนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงเป็นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะ
ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่อใด
ในทางกฏหมาย "ผู้เยาว์" หมายถึง บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยกฏหมายได้กำหนดวิธีการบรรลุนิติภาวะจากการเป็นผู้เยาว์อยู่ 2 วิธี คือ
1.การบรรลุนิติภาวะโดยทางอายุ (การที่อายุครบ 20 ปี บริบูรณ์) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 19บัญญัติว่า "บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์"
2.การบรรลุนิติภาวะโดยทางสมรส มาตรา 20 บัญญัติว่า "ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาสะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติมาตรา 1448”[2]
การสมรสของผู้เยาว์
- ถ้าชายและหญิงมีอายุมากกว่า17ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน20ปี ทั้งคู่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
- ถ้าอายุไม่ถึง17ปี ต้องได้รับคำสั่งศาล คือ ศาลต้องอนุญาตให้สมรสก่อน เพราะอาจมีเหตุอันสมควร เช่นหญิงตั้งครรภ์
จากข้อกฎหมาย ดังนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1454, 1436 บัญญัติว่า
ผู้เยาว์จะทำการหมั้น หรือสมรสได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
(๑) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
(๒) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้
(๓) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
(๔) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (๑) (๒) และ (๓) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น